บาคาร่าออนไลน์ หมอโอภาส ชี้แจงกรณีที่มีการแชร์เอกสารบนสื่อสังคมออนไลน์ถึงประเด็นที่ VIP สุรินทร์ฉีดไฟเซอร์ เร่งกดดันทางจังหวัดเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง เพจเฟซบุ๊ก ไทยรู้สู้โควิด ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณีที่มีชาวเน็ตเผยแพร่เอกสารที่ระบุว่ามีบุคคลที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าเข้ารับวัคซีนยี่ห้อไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 1.5 ล้านโดส เมื่อช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยในเอกสารระบุว่า
“กรมควบคุมโรค ย้ำหากประชาชนพบข้อมูลสงสัยจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ไม่เป็นไปตามกลุ่มเป้าหมาย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรวจสอบข้อเท็จจริง จากนั้นส่งเรื่องมายังกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีคณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด 19 กรณีไฟเซอร์ พิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
กรณีสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า หลังจากกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดสรรวัคซีน Pfizer ล็อต 1.5 ล้านโดสที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุน ไปยังพื้นที่ต่างๆตามกลุ่มเป้าหมาย กลับพบว่า ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีการจัดสรรวัคซีนให้นอกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นสายงาน Back office ทำหน้าที่ด้านเอกสารได้รับวัคซีนก่อนบุคลากรด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โดยตรง
วันนี้ (15 สิงหาคม 2564) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กรมควบคุมโรคมีการจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด19 ไฟเซอร์ เป็นไปตามจำนวนที่มีการสำรวจ และจัดสรรให้กับกลุ่มเป้าหมายตามที่เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเมื่อจัดส่งให้กับพื้นที่ต่างๆ ต้องดำเนินการตามนโยบายในการให้บริการวัคซีนไฟเซอร์กับกลุ่มเป้าหมายก่อน ดังนั้น เมื่อมีข้อร้องเรียนว่า พบการจัดสรรวัคซีนให้กับกลุ่มนอกเป้าหมาย ที่ไม่ได้กำหนดไว้ ขอให้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ไม่ว่าจังหวัดใดก็ตามหากมีเรื่องลักษณะนี้ ให้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว
“เมื่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรวจสอบแล้ว ขอให้รวบรวมข้อมูลส่งเรื่องเข้ามาที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีคณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 กรณีวัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) จะพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป เนื่องจากตามนโยบายการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ล็อตนี้ต้องเป็นไปตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยต้องเน้นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโควิดก่อน และกลุ่มเสี่ยง” นายแพทย์โอภาส กล่าว
นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า สถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิดในประเทศไทย ข้อมูลสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. ถึงวันที่ 14 ส.ค.2564 เวลา 18.00 น. มีผู้รับบริการฉีดวัคซีนไปแล้วจำนวน 23,476,869 โดส หากแยกรายละเอียดเข็มที่ 1 จำนวน 17,879,206 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 24.8 ส่วนผู้รับบริการที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มมีจำนวน 5,073,672 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 7
ทั้งนี้ สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์จะฉีดให้กับ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1.บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 2.ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังอายุ 12 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป 3.ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง 4.ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น”
ฉาวนครศรีธรรมราช! แพทย์พาญาติฉีดไฟเซอร์ หลายเข็ม
ผู้เห็นเหตุการณ์อ้างว่า มี แพทย์พาญาติฉีดไฟเซอร์ หลายเข็ม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านโรงพยาบาลเผยแพทย์คนดังกล่าวยื่นขอลาออกแล้ว กลายเป็นกระแสที่มีการพูดถึงกันเป็นอย่างมากในสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากที่มีการมีแพทย์หญิงจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช นำคนในครอบครัวหลายคนเข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา
โดยผู้บอกเล่าระบุว่า ในวันนั้นได้เบิกจ่ายวัคซีนจำนวน 11 ขวด จะมีผู้ได้รับวัคซีนซึ่งเป็นบุคลากรด่านหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่อำเภอที่เกิดเหตุจำนวน 66 คน โดยวัคซีนไฟเซอร์ 1 ขวดจะสามารถฉีดให้กับบุคลากรได้ 6 คน แต่มีเทคนิคคือ แต่ละขวดหากใช้วิธีการ Low Dead Space Syringe จะสามารถดึงวัคซีนฉีดได้ถึง 7 คน ซึ่งโดยปกติแต่ละขวดนั้นจะฉีดเฉพาะ 6 คนหรือ 6 โดสเท่านั้น ที่เหลือจะได้รับคำสั่งให้ทิ้ง แต่คนในครอบครัวของแพทย์หญิงรายนี้ ได้รับวัคซีนส่วนที่เหลือนี้ไป
โดยคนที่เข้ามาฉีดนั้น ไม่มีใบเซ็นยินยอมรับวัคซีน และไม่มีสติกเกอร์ Lot Vaccine ไม่มีการส่งเอกสารคีย์เข้าระบบ MOPH IC แต่สามารถตรวจสอบได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้รับวัคซีนในขวดที่ 2 ใน Lot : 30125BA Exp.30/11/2564 แต่ไม่ทราบลำดับโดส เพราะไม่มีสติกเกอร์ติดให้ ในขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้น แพทย์หญิงคนดังกล่าวกำกับอยู่ตลอด และวงจรปิดสามารถจับภาพได้
อย่างไรก็ตาม มีกระแสข่าวว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ผู้อำนวยการของโรงพยาบาลทราบแล้ว ขณะที่แพทย์หญิงคนดังกล่าว ได้ยื่นขอลาออกแล้วเช่นกัน
ด้าน นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ได้กล่าวย้ำทุกครั้งในการประชุมและการแถลงข้อมูลกับผู้สื่อข่าว นับตั้งแต่ก่อนการรับวัคซีนมาจากส่วนกลางว่า การรับวัคซีนไฟเซอร์จะต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ คือ ต้องเป็นแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าเท่านั้น หากผิดไปจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะถูกสังคมลงโทษ และต้องดำเนินการทางวินัย ในส่วนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลดังกล่าวนั้น ขณะนี้ได้ลงนามตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามขั้นตอนของทางราชการแล้ว ส่วนการที่แพทย์หญิงคนดังกล่าวจะลาออก ขณะนี้ยังไม่เห็นเอกสาร บาคาร่าออนไลน์